ตราพระสิงห์มูลนิธิ

พระสิงห์ ๑ (พระพุทธสิหิงค์) กลางวงกลม ระหว่างวงกลมสองวงซ้อนกันข้างบนเป็นชื่อ " พระสิงห์มูลนิธิ " ตรงกลาง ซ้าย เป็น อักษร ช ในกรอบสี่เหลี่ยมเปียกปูน คือ "เชียง" ด้านขวาเป็นอักษร ม. คือ "ใหม่" ข้างล่าง เขียนว่า "ใบอนุญาต เลขที่ ต. ๒๔๐/๒๔๘๙" (ต.240/2489)

วัตถุประสงค์การก่อตั้งพระสิงห์มูลนิธิ

  1. เพื่อการศาสนาศึกษา
  2. เพื่อเป็นค่าภัตตาหาร พระภิกษุสามเณร
  3. เพื่อบูรณะก่อสร้าง เสนาสนะหรือศาสนาสถาน
  4. เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์
  5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมือง

THE PURPOSES

  1. Religious education,
  2. Food for monks and novices,
  3. Construction and renovation of religious places or buildings,
  4. Public interest,
  5. Non-political involvement

ปฏิทินกิจกรรมของพระสิงห์มูลนิธิ



สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้1คน
วันนี้27ครั้ง
เมื่อวานนี้78ครั้ง
เดือนนี้1,183ครั้ง
ทั้งหมด397,078ครั้ง

ประวัติพระสิงห์มูลนิธิ

วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1888 โดยพญาผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงค์มังราย เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองล้านนาไทยมาแต่โบราณกาล ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบกแห่รอบเมืองให้ประชาชนสักการะบูชาเป็นพระเพณีสืบมา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในการบำเพ็ญทานบารมี หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเน้นการบำเพ็ญกุศล เพื่อการสงเคราะห์ผู้อื่น และเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น หลักธรรมเรื่องทาน (การให้) และปริจาคะ (การเสียสละ) สังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคล และเป็นหลักธรรมของการสังคมสงเคราะห์ก็มีเรื่องทาน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ แบ่งปันช่วยเหลือกัน คำว่า "มูลนิธิ" หมายถึงทรัพย์สินที่ผู้บริจาคมีศรัทธาตั้งไว้เป็นทุน เพื่อจัดหาผลประโยชน์มาบำรุงสาธารณกุศลต่าง ๆ โดยรักษาต้นทุนเดิมไว้ ไม่ใช้จ่าย และหาวิธีเพิ่มเติมต้นทุนเิิดิมให้มีมากขึ้น เพื่อจะได้จัดหาผลประโยชน์ได้มากขึ้นด้วย ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสเรียกการบริจาคทรัพย์เป็นมูลนิธิเช่นนี้ว่า "บุญนิธิ" แปลว่า ขุมทรัพย์คือบุญ จึงได้ตั้งพระสิงห์มูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2489

วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อการศาสนศึกษา
2. เพื่อเป็นค่าภัตตาหาร พระภิกษุสามเณร
3. เพื่อบูรณะก่อสร้าง เสนาสนะหรือศาสนสถาน
4. เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมือง

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ตรัสพระคาถาว่า บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่าเมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ทรัพย์นี้จะเป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์นี้แล

ขุมทรัพย์นั้นย่อมหาสำเร็จแก่เขาไปทั้งหมดในกาลทุกเมื่อทีเดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขาคลาดเคลื่อนเสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขาไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้น ย่อมสูญไป

ขุมทรัพย์คือบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล สัญญมะความสำรวม ทมะ ความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี

ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะทั้งหลายที่เขาจำละไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป

ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะ แต่ชนเหล่าอื่น โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใดติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น

บุญนิธินั้น อำนาจผลที่น่าปรารภนาทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ปรารถนานัก ซึ่งบุญกุศลอันใด บุญกุศลทั้งหมดนั้น ๆ อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้

อานิสงส์การก่อตั้งมูลนิธิ

1. มีผิวพรรณงดงาม มีสุรเสียงอันไพเราะ ทรวงทรงงดงาม มากด้วยอำนาจและบริวาร
2. หากเกิดเป็นมนุษย์ จะมียศ มีความสุข และมีทรัพย์ดุจพระเจ้าจักรพรรดิ หากเกิดในสวรรค์ จะเป็นเทวราชา ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ
3. สุขสมบูรณ์ด้วยสมบัติของมนุษย์ สมบัติของเทวดาและสูงสุดคือสมบัติแห่งพระนิพพาน
4. ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร สมบูรณ์ด้วยโยนิโสมนสิการ ปัญญาหยั่งรู้โดยอุบายอันชอบ จะเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า
5. ผลชั้นสูงคือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ และพุทธภูมิ ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น

บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้นเป็นไป เพื่อประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 302 นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ)

Phrasingh Foundation
Phrasingh Foundation Founded in 1345, Phrasingh Woramahawiharn Temple holds the status of the first class royal temple by Paya Payou-the 5th King of Mengrai Dynasty, and is located at 2 Sam Lan Road, Phra Singh Sub-district, Muang District, Chiang Mai. The temple houses the Phra Buddha Sihingh : an important Thai Lanna Buddha Statue since ancient times. During Songkran festival, the statue is placed on a movable throne and carried around the city, so people can conduct worship in order to make offerings to the Buddha. The principles of Buddhism are focused on making merit to help others and to make contributions for public interests based on principles of ‘Dana’ (giving) and ‘Parijaka’ (sacrifice). Sangahavatthu 4 is a dhamma principle that holds the mind of an individual, and a principle of social work that involves ‘Dana’ which involves sharing and and sacrifices. The term “foundation” means assets that donors devote as a fund that can be used to provide benefits for public charity while still maintaining the fund without additional expenses, and to find a way to increase the fund so as to provide more benefits. In Buddhism, the Buddha calls the donation of assets for foundation as “Boonnithi” (Wealth), meaning wealth and virtue. Therefore, Phra Singh Foundation was founded on 30th October, 1946.

THE PURPOSES
1. Religious education,
2. Food for monks and novices,
3. Construction and renovation of religious places or buildings,
4. Public interest,
5. Non-political involvement.

The enlightened Buddha teachers wealthy laymen that men can use their assets for noble deeds. Whenever necessary, these assets would be useful as they would help them to avoid being caught by officials, to protect the assets from thieft, to relieve them from debts, or alleviate suffering from disasters. Thus, the assets they bury in this world are for these benefits.

Wealth does not always peovide them with all these benefits at once as assets may be moved somewhere else, be forgotten, be stolen by Nagas, demons or unloved heirs. Whenever Laymen lose their lives because of death, wealth will be lost as well.

Wealth is a virtue of all people, regardless of their gender, whether it is buried with alms, ethical behavior (precepts), Sanyama (carefulness), or Tama (selfdiscipline) in pagodas, monks, individuals, guests, mother, father or brothers.

Wealth, if we buried, cannot be stolen by others. All assets one has to leave behind will be taken with him as wealth.

Wealth as a virtue is not available to the public and thieves cannot steal it. A scholar should create on such wealth that he can take with him.

Wealth providers all gods and humans with desirable results. All virtues they truly desire will be achieved by this wealth.

 

Results of making merit in establishing the foundation

1. A person will have beautiful skin, voice and appearance, and be full of power and have servants.
2. If a person is born to be a human, he will have a rank of nobility and happiness and will be wealthy like an emperor. If a person is born in heaven, he will achieve pre-eminence as a King of the Gods.
3. A person will be wealthy with assets of humanity, assets of divinities and, the highest, assets of nirvana.
4. A person will be full of ture friends and complete eith critical reflection. He will be an expert in all kinds of knowledge and liberation with nirvana as the highest aim.
5. A person will achieve the highest results : wisdom, nirvana, charisma, individual enlightenment and quality of being a Buddha.

Perfection of virtues is a virtue that results in these benefits. Thus, a scholar admires that quality of a person who makes merit.

(The Suttanta Pitaka Khuddaka Nikaya Khuddaka Pata, volume 1, 14 Discourse, page 302, Nithikan (Chapter about Wealth) in Kuddaka Pata)

 



© พระสิงห์มูลนิธิ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถ.สามล้าน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทร.081-8838752, 087-1755739, 053-416019 โทรสาร. 053-814383, 053-416027